Loading Events

« All Events

  • This event has passed.

สังคมศาสตร์ไทยในวิกฤตโควิด 19: การ(ไม่)มีบทบาทและความสำคัญ

19 November, 2021 @ 5:00 pm - 6:30 pm

การระบาดของโควิด 19 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลก ได้เผยให้เห็นความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างกระบวนการทางชีววิทยา เศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงนัยยะเรื่องความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจ สังคมและสุขภาพ รวมไปถึงมิติทางการเมืองในเรื่องของสุขภาพและการสาธารณสุข เป็นที่แน่ชัดอยู่แล้วว่าโรคระบาดโควิดในครั้งนี้เกิดจากเชื้อไวรัส แต่เพื่อที่จะเข้าใจ ควบคุม และลดผลกระทบของการระบาด เราต้องพึ่งพาองค์ความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์และการใช้องค์ความรู้ดังกล่าวในการแก้ไขปัญหา ซึ่งทำให้เกิดคำถามที่ว่า องค์ความรู้และนักวิชาการด้านสังคมศาสตร์ได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาหลากมิติอันเป็นผลมาจากวิกฤติโควิด 19 ในภูมิภาคนี้มากน้อยเพียงใด? เพื่อที่จะสะท้อนถึงคำถามนี้ SEA Junction ร่วมกับ Asia Research Center at the University of Indonesia (ARC-UI) และ Global Development Network (GDN) จะจัดเวทีเสวนาผ่านช่องทางออนไลน์ สองเวที โดยเวทีแรกจะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2564 เวลา 17:00-18:30 น. ดำเนินรายการเป็นภาษาไทย และจะมุ่งเน้นที่ประสบการณ์การรับมือกับปัญหาโรคระบาดโควิดในประเทศไทย เวทีที่สองจะจัดขึ้นในวันพุธที่ 24 พฤศจิกายน 2564 เวลา 16:00-17:30 น. ดำเนินรายการเป็นภาษาอังกฤษ จะมุ่งเน้นบทสนทนาเกี่ยวกับการรับมือโรคระบาดโควิดในระดับภูมิภาค

ทั้งสองเวทีเสวนานี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยที่ร่วมจัดโดย ARC – UI และ GDN ได้รับการสนับสนุนจาก International Development Research Centre (IDRC) ประเทศแคนาดา และ SEA Junction ได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้ จุดประสงค์ของโครงการคือการศึกษาบทบาทของสังคมศาสตร์ ในการรับมือปัญหาสถานการณ์โควิด 19 ใน 11 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ โดยมุ่งศึกษาการมีส่วนร่วมอย่างเป็นทางการขององค์ความรู้และนักวิชาการทางสังคมศาสตร์ในระบบการจัดการรับมือปัญหาโควิด 19  เงินทุนสำหรับงานวิจัยด้านสังคมศาสตร์ในปัญหาวิกฤตโควิด และความสัมพันธ์ระหว่างงานวิจัยและนโยบายสาธารณะ รวมไปถึงโครงการหรืองานวิจัยใหม่ ๆ นำโดยนักสังคมศาสตร์ในภูมิภาค โครงการนี้เชื่อมั่นว่า งานด้านสังคมศาสตร์ที่เจริญก้าวหน้าและเป็นอิสระจะเป็นตัวกำหนดสังคม เศรษฐกิจ การเมือง จิตวิทยาและวัฒนธรรม ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยการฟื้นฟูด้านสังคมและสุขภาพ ทั้งในและระหว่างประเทศ  นอกจากนี้สังคมศาสตร์ยังมีบทบาทสำคัญทั้งในช่วงเวลาปกติและช่วงวิกฤตการณ์ อย่างไรก็ตามประสบการณ์ที่ผ่านมาของภูมิภาคนี้ในช่วงโควิดได้บังคับให้เราต้องเร่งพูดคุยกันในวงกว้างถึงคุโณปการของสังคมศาสตร์และนักสังคมศาสตร์ในการเป็นส่วนหนึ่งของการมองปัญหาโควิดเป็นภาพรวมที่สมบูรณ์และตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาโควิดอย่างมีประสิทธิภาพ

ในเวทีเสวนาแรกที่จะจัดขึ้นเป็นภาษาไทย นักวิจัย วินิสสา ขัตติยะอารี จะนำเสนอผลการศึกษาจากโครงการวิจัยบทบาทของสังคมศาสตร์ในการรับมือกับวิกฤตโควิดในประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันสังคมศาสตร์ต่าง ๆ จะนำเสนอมุมมองในเรื่องการขับเคลื่อนองค์ความรู้ด้านสังคมศาสตร์ ในการรับมือสถานการณ์โควิดในประเทศ เวทีเสวนานี้จะจัดขึ้นที่ SEA Junction ชั้น 4 หอศิลปกรุงเทพฯ และมีการถ่ายทอดสดทางเพจเฟซบุ๊กของ SEA Junction โดยมีกำหนดการดังนี้

กำหนดการ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 เวลา 17.00-18.30 น. ที่ SEA Junction และผ่าน Facebook Live

ผู้ดำเนินรายการ/ผู้ร่วมเสวนา

  • ดร. จิราพร เหล่าเจริญวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้ร่วมเสวนา

  • ดร. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  • ดร. นฤมล ทับจุมพล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วินิสสา ขัตติยะอารี นักวิจัย SEA Junction และนิสิตหลักสูตร MAIDS จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

เวทีเสวนาที่สองจะจัดขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ​ Dr. Rosalia Sciortino หัวหน้าโครงการวิจัยในประเทศไทย และผู้อำนวยการ SEA Junction จะนำเสนอผลการศึกษาร่วมกับนักวิจัยในโครงการจากประเทศอินโดนีเซียและสิงคโปร์ โดยมีกำหนดการดังนี้

กำหนดการ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 เวลา 16.00-17.30 น. ผ่าน Zoom (กดเข้าร่วมที่ https://bit.ly/SEAJunction-24NOV) และ Facebook Live

ผู้ดำเนินรายการ

  • Francesco Obino หัวหน้าฝ่ายโครงการ Global Development Network

ผู้ร่วมเสวนา

  • Inaya Rakhmani ผู้อำนวยการ ARC-UI ประเทศอินโดนีเซีย
  • Kian Woon Kwok ศาสตราจารย์และรองผู้ช่วยผู้อำนวยการ (ฝ่ายสวัสดิการ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง ประเทศสิงคโปร์
  • Rosalia Sciortino รองศาสตราจารย์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลและผู้อำนวยการ SEA Junction ประเทศไทย

ผู้ร่วมอภิปราย

  • Vedi Hadiz ผู้อำนวยการและศาสตราจารย์เอเชียศึกษา สถาบันเอเชีย มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือสำรองที่นั่งล่วงหน้า กรุณาอีเมล southeastasiajunction@gmail.com หรือโทรศัพท์ +66970024140 / เนื่องจากมีการจำกัดผู้เข้าร่วมงานตามมาตรการควบคุมโควิด 19 ในกรณีที่มีผู้เข้าร่วมเกินจำนวน ผู้จัดจะให้สิทธิ์แก่ผู้ที่มาก่อนหรือผู้ที่ได้สำรองที่นั่งไว้ล่วงหน้า

หมายเหตุ เข้าร่วมงานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย (ยินดีรับเงินบริจาค)

ผู้จัดงาน

SEA Junction

SEA Junction ภายใต้การดำเนินการของมูลนิธิเพื่อการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มุ่งสร้างความเข้าใจและการเห็นคุณค่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในทุก ๆ ด้านของมิติสังคมวัฒนธรรม ตั้งแต่ศิลปะและวิถีชีวิต ไปจนถึงเศรษฐกิจและการพัฒนา SEA Junction ซึ่งตั้งอยู่ที่ห้อง 408 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ได้ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งความรู้และการแลกเปลี่ยนของบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สนใจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาดูที่หน้าเว็บไซต์ www.seajunction.org เข้าร่วมกลุ่ม Facebook http://www.facebook.com/groups/1693058870976440/ และติดตามเราทาง Twitter หรือ Instagram ที่ @seajunction

Global Development Network (GDN)

GDN เป็นองค์การระหว่างประเทศที่สนับสนุนงานวิจัยสังคมศาสตร์เชิงนโยบายที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาและมีการเปลี่ยนผ่าน เพื่อสนับสนุนคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน GDN สนับสนุนนักวิจัยในด้านเงินทุน เครือข่ายนักวิจัยระดับโลก รวมถึงการเข้าถึงข้อมูล การฝึกอบรบ และการให้คำปรึกษาในเชิงวิจัย องค์การได้ปฏิบัติงานบนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า งานวิจัยที่ดีจะนำไปสู่การสร้างนโยบายที่ดีกว่าและการพัฒนาที่ครอบคลุม สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาดูที่หน้าเว็บไซต์ http://gdn.int/doingresearch.

Asia Research Centre at Universitas Indonesia (ARC – UI)

ARC-UI เป็นศูนย์วิจัยสหวิทยาการที่มีมุ่งเสริมสร้างธรรมาภิบาลและการฟื้นฟูทางสังคม ทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับท้องถิ่น ผ่านการวิเคราะห์อย่างครอบคลุม อันเป็นผลมาจากความเป็นเลิศด้านความร่วมมือการวิจัย สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาดูที่หน้าเว็บไซต์ https://arc.ui.ac.id/

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ก่อกำเนิดขึ้นในปี 2509 สถาบันฯ ได้มีการวางรากฐานในด้านต่าง ๆ ไว้อย่างมั่นคงในแต่ละยุคสมัย  และมีการสร้างองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางประชากร สังคมและเศรษฐกิจในระดับประเทศ ภูมิภาคเอเชีย และอื่น ๆ กรุณาดูที่หน้าเว็บไซต์ https://ipsr.mahidol.ac.th/

Details

Date:
19 November, 2021
Time:
5:00 pm - 6:30 pm
Event Category: