Loading Events

« All Events

  • This event has passed.

งานเสวนา “ประเทศไทยในฐานะบ้านที่ปลอดภัย วิกฤตผู้ลี้ภัยและแนวทางแก้ไข

April 30 @ 5:30 pm - 7:00 pm

เบื้องหลัง

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567 สภาบริหารแห่งรัฐ (SAC) ซึ่งจัดตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ได้ประกาศบังคับใช้กฎหมายเกณฑ์ทหาร โดยบังคับให้มีการเกณฑ์ผู้ชายอายุ 18-35 ปี และผู้หญิงอายุ 18-27 ปีอย่างน้อย 2 ปี เยาวชนชาวเมียนมาจำนวนมากรายงานว่าถูกบังคับให้เกณฑ์ทหารเพื่อไปสู้รบกับกลุ่มต่อต้านที่สนับสนุนประชาธิปไตยและกลุ่มกองกำลังชาติพันธุ์ ผู้คนทุกช่วงอายุต่างก็ได้หนีเข้ามายังประเทศหรือไม่ก็หาลู่ทางลี้ภัยไปยังต่างประเทศ การขอลี้ภัยในประเทศไทยไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับชาวเมียนมาที่จะแสวงหาสิทธิขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต การศึกษา การทำงาน หรือแม้กระทั่งการขอวีซ่าพักอาศัยชั่วคราว

งานเสวนานี้จะแลกเปลี่ยนพูดคุยเกี่ยวกับพันธะหน้าที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะข้อเสนอแนะถึงกระทรวงมหาดไทย ต่างประเทศ แรงงาน พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงศึกษาธิการ ในการรับรองความรับผิดชอบด้านมนุษยธรรมต่อผู้ลี้ภัยที่หลบหนีมาเพื่อความปลอดภัย เหล่าวิทยากรจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการตอบสนองด้านความมั่นคงของประเทศไทย ความท้าทายปัจจุบันในพื้นที่พรมแดน โรงพยาบาล สถานกักกัน รวมไปถึงสถานการณ์ความขัดแย้งทางอาวุธในเมียนมา วิทยากรในงานเสวนาได้เสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายให้แก่คณะกรรมาธิการรัฐสภาและรัฐบาลไทย โดยเรียกร้องให้พวกเขายึดถือหลักการการไม่ส่งกลับและการหาที่พักพิงชั่วคราวให้แก่ผู้ลี้ภัยที่หลบหนีมาในประเทศไทย

งานเสวนานี้จัดโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ศูนย์การย้ายถิ่นมหิดล เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ สถาบันด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา และ SEA Junction ในวันอังคารที่ 30 เมษายน 2567 เวลา 17.30 น. ณ SEA Junction ชั้น 4 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ประกอบไปด้วยบุคคลซึ่งจะเข้าร่วมทั้งผ่านทางออนไลน์และออฟไลน์พร้อมล่ามแปลภาษาดังต่อไปนี้

พิธีกร
          ดร. กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

วิทยากร

  • นายสมชาย หอมลออ ประธาน และ ทนายความสิทธิมนุษยชน ที่ปรึกษาอาวุโส (มูลนิธิพัฒนาสิทธิมนุษยชน HRDF) – กรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
  • นายชวรัตน์ ชวรางกูร เครือข่ายประเทศไทย เมียนมาร์ (Thailand Myanmar Response) – การกักขังและการส่งกลับโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
  • รองศาสตราจารย์ ดร.สุรีย์พร พันพึ่ง ศูนย์การย้ายถิ่นมหิดล-สถาบันวิจัยประชากรและสังคม และ ดร.แมรี โรส สาระสัตย์ Asian Institute of Technology – เรื่องกระบวนการคัดกรองผู้ลี้ภัยในประเทศไทย- ความท้าทาย
  • ศิววงศ์ สุขทวี เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (MWG) – เสวนาเกี่ยวกับนโยบายและคณะอนุกรรมาธิการรัฐสภา
  • ผู้โต้ตอบ: ดร.ซัน ออง New Myanmar Foundation – สิ่งที่ประเทศไทยสามารถทำได้

 

งานเสวนาจะถ่ายทอดสดบน Facebook Live ของ SEA Junction และเพจผู้จัด ผู้สนใจสามารถร่วมงานผ่านทาง Zoom ได้ผ่านลิงค์ (https://us02web.zoom.us/j/84347916541) โดยจะมีคำแปลภาษาอังกฤษให้ทั้งผ่านทางซูมและภายในงาน

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ info@seajunction.org หรือ 0970024140

งานเสวนาไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถร่วมบริจาคเพื่อสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของ SEA Junction

จัดโดย

เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (MWG) เกิดจากการที่องค์กรสมาชิกเห็นตรงกันถึงความไม่เป็นธรรมของการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติในระบบประกันตนเมื่อปี 2549 ทำให้องค์กรตระหนักถึงพลังของการดำเนินงานร่วมกันเป็นเครือข่าย มีเป้าหมายเพื่อให้ประชากรข้ามชาติได้รับ/เข้าถึงการคุ้มครองสิทธิ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเคารพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และไม่เลือกปฏิบัติ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาดูที่หน้าเว็บไซต์ https://mwgthailand.org/en/about

ศูนย์การย้ายถิ่นมหิดล (MMC) เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ด้วยการมุ่งเน้นถึงผลกระทบของการอพยพย้ายถิ่นในภูมิภาค และช่วยกระจายข้อมูลเกี่ยวกับการอพยพให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ศูนย์การย้ายถิ่นทำหน้าที่เป็นช่องทางหลักสำหรับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการอพยพย้ายถิ่นที่จัดทำโดยสถาบันวิจัยและองค์กรพันธมิตร โดยศูนย์การย้ายถิ่นฯ สถาบันวิจัยฯ และ มหาวิทยาลัยมหิดล ยึดถือหลักการทางมนุษยธรรมพร้อมด้วยเป้าหมายที่จะมีส่วนร่วมอย่างลึกซึ้งในการร่วมมือทางสหวิทยาการและระหว่างประเทศ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาดูที่หน้าเว็บไซต์ https://ipsr.mahidol.ac.th/en/research-centers/

สถาบันมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล (IHRP)

สถาบันมนุษยชนและสันติศึกษา มุ่งมั่นที่จะพัฒนาสิทธิมนุษยชนและสันติภาพโดยการให้ความรู้แก่ผู้ปฎิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ ส่งเสริมโครงการที่เผยแพร่ให้กับชุมชนและองค์กรระหว่างประเทศ รวมถึงดำเนินการวิจัยที่ล้ำสมัย IHRP เปิดสอนหลักสูตรที่สูงกว่าปริญญาตรีในสาขาด้านสิทธิมนุษยชน สันติภาพศึกษา และประชาธิปไตย สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาดูที่ https://ihrp.mahidol.ac.th/

SEA Junction ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2559 ภายใต้การดำเนินการของมูลนิธิเพื่อการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มุ่งสร้างความเข้าใจและความซาบซึ้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในทุก ๆ ด้านของมิติสังคมวัฒนธรรม ตั้งแต่ศิลปะและวิถีชีวิต ไปจนถึงเศรษฐกิจและการพัฒนา ตั้งอยู่ที่ห้อง 407-8 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร SEA Junction ได้ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งความรู้และการแลกเปลี่ยนของบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สนใจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาดูที่หน้าเว็บไซต์ www.seajunction.org เข้าร่วมกลุ่ม Facebook http://www.facebook.com/groups/1693058870976440/ และติดตามเราทาง Twitter หรือ Instagram ที่ @seajunction

Details

Date:
April 30
Time:
5:30 pm - 7:00 pm
Event Category: