Loading Events

« All Events

  • This event has passed.

แรงงานไทยหายไป แรงงานข้ามชาติเข้ามาทดแทนได้หรือไม่

18 August, 2023 @ 10:30 am - 12:30 pm

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ทำการศึกษาเกี่ยวกับการย้ายถิ่นฐานและแรงงานข้ามชาติ โดย นักประชากรศาสตร์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์ กล่าวว่า สถิติการฉายภาพ(projection) ยืนยันว่า ปัจจุบันจนสิ้นสุดศตวรรษที่ 21 ประเทศไทยเป็นประเทศอันดับที่สองรองจากประเทศญี่ปุ่น ที่จะมีจำนวนประชากรลดลงจากปัจจุบันมากกว่าครึ่งหนึ่ง คือ เหลือเพียง 30 กว่าล้านคนเท่านั้น  นี่แสดงถึงวิกฤตเศรษฐกิจและมาตรฐานการครองชีพของเรา หากเราไม่สามารถรวม แรงงานมืออาชีพต่างชาติ (professional foreign workers) ผู้อพยพ (immigrants/refugees) และ แรงงานข้ามชาติ(migrant workers) เป็นประชากรวัยทำงานของเราได้

ในปี 2544 สหประชาชาติได้เสนอนโยบายการย้ายถิ่นทดแทน (replacement migration) ให้เป็นเครื่องมือทางประชากรกับประเทศที่เริ่มมีปัญหาอัตราการเกิดต่ำ โดยประเทศพัฒนาแล้วที่ปัจจุบันมีอัตราการเกิดต่ำกว่าระดับทดแทน เช่น สหราชอาณาจักร เยอรมนี สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย โดยผ่านการตรวจคนเข้าเมืองอย่างผ่อนคลาย เมื่อสิ้นศตวรรษที่ 21 นี้  ประเทศเหล่านี้กลับจะมีประชากรเพิ่มขึ้น เพราะประเทศเหล่านี้มีนโยบายและกำหนดเป้าหมายจำนวนคนเข้าเมืองอย่างชัดเจนมาโดยตลอด และดำเนินนโยบายการย้ายถิ่นทดแทนมาเป็นเวลานาน ก่อนสหประชาชาติได้เสนอนโยบายดังกล่าวอีกด้วย ดังนั้น ประเทศไทยควรดำเนินนโยบายการย้ายถิ่นทดแทน ด้วยการตั้งเป้าจำนวนประชากรต่างชาติเพื่อให้ได้สัญชาติไทยปีละ 200,000 คน ใน 80 ปี จะได้ประชากรไทยเข้ามา 16 ล้านคน เท่ากับการทดแทนประมาณ 50% ของประชากรที่หายไป และการรับประชากรอพยพ (immigrants) ไม่จำเป็นต้องทดแทนทั้งหมด 100% เพราะประเทศสามารถใช้นโยบายอื่นๆ ร่วมด้วยได้ เช่น การสร้างสังคมผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ การพัฒนาแรงงานอย่างจริงจัง การเลื่อนอายุเกษียณ และการใช้เทคโนโลยีรวมทั้งหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ ตลอดจนการแบ่งปันทรัพยากรแรงงาน กันในระบบภูมิภาค เช่น ในอาเซียน ด้วยกัน

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ SEA Junction และ Migrant Working Group จึงได้จัดงานเสวนา เพื่อชี้ให้เห็นถึงการคาดการณ์ว่าจำนวนแรงงานไทยประมาณ 14.4 ล้านคนอาจหายไปภายในปี 2060 และพยายามสำรวจว่าแรงงานข้ามชาติสามารถเข้ามาทดแทนได้หรือไม่ งานนี้จะจัดขึ้นในวันที่ 18 สิงหาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 10.30 – 12.30 น. ที่ SEA Junction ชั้น 4 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยจะมีการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Page และมีล่ามแปลเป็นภาษาอังกฤษทาง Zoom (Link: https://bit.ly/IPSR-18Aug)

 

10.30 –10.40 น. ลงทะเบียน
10.40 – 10.55 น. เปิดการเสวนา
10.55 – 11.05 น. การนำเข้าประชากร 200,000 คน วิกฤติหรือโอกาส

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์

11.05 – 11.15 น. นโยบายการย้ายถิ่นของแรงงานมีทักษะ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สักกรินทร์ นิยมศิลป์

11.15 – 11.25 น. การประเมินสถานการณ์เด็กข้ามชาติในประเทศไทยและผลกระทบจากโควิด-19

รองศาสตราจารย์ ดร. เฉลิมพล แจ่มจันทร์

11.25 – 11.35 น. การปฏิรูประบบคนเข้าเมือง เพื่อรองรับการขาดแคลนแรงงานในสังคมผู้สูงวัยของไทย

คุณอดิศร เกิดมงคล

11.35 – 12.15 น. อภิปราย และ ถาม-ตอบ

 

จัดโดย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล มีภารกิจหลักในการทำงานวิจัยด้านประชากรและสังคมที่มีผลกระทบสูงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมทั้งนำความรู้และประสบการณ์ตามความถนัดของสถาบันฯ ขยายผลออกไปเพื่อสร้างสังคม ทั้งด้วยการจัดฝึกอบรมระยะสั้น การเผยแพร่ความรู้ข่าวสารด้านประชากรและสังคมในรูปแบบต่างๆ และการเป็นที่ปรึกษาแก่หน่วยงานอื่นๆ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาดูที่หน้าเว็บไซต์ https://ipsr.mahidol.ac.th/

SEA Junction ภายใต้การดำเนินการของมูลนิธิเพื่อการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มุ่งสร้างความเข้าใจและความซาบซึ้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในทุก ๆ ด้านของมิติสังคมวัฒนธรรม ตั้งแต่ศิลปะและวิถีชีวิต ไปจนถึงเศรษฐกิจและการพัฒนา ตั้งอยู่ที่ห้อง 408 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร SEA Junction ได้ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งความรู้และการแลกเปลี่ยนของบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สนใจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาดูที่หน้าเว็บไซต์ www.seajunction.org เข้าร่วมกลุ่ม Facebook http://www.facebook.com/groups/1693058870976440/ และติดตามเราทาง Twitter หรือ Instagram ที่ @seajunction

เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ เกิดจากการที่องค์กรสมาชิกเห็นตรงกันถึงความไม่เป็นธรรมของการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติในระบบประกันตนเมื่อปี 2549 ทำให้องค์กรตระหนักถึงพลังของการดำเนินงานร่วมกันเป็นเครือข่าย มีเป้าหมายเพื่อให้ประชากรข้ามชาติได้รับ/เข้าถึงการคุ้มครองสิทธิ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเคารพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และไม่เลือกปฏิบัติ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาดูที่หน้าเว็บไซต์ https://mwgthailand.org/

Details

Date:
18 August, 2023
Time:
10:30 am - 12:30 pm
Event Category: