Loading Events

« All Events

  • This event has passed.

ไปกันต่อ INC 5.2: ยังไงดีสนธิสัญญาพลาสติกโลก

February 11 @ 10:00 am - 12:00 pm

ในปี 2565 กว่า 160 ประเทศทั่วโลกไดล้งมติรับรอง UNEA 5/14 เพื่อพัฒนามาตราการที่มีผลผูกพันธ์ทางกฎหมายเพื่อยุติมลพิษพลาสติก (สนธิสัญญาพลาสติกโลก) โดยมติดังกล่าวเสนอกรอบเวลาสองปีสำหรับการประชุมคณะกรรมการเจรขาระหว่างรัฐบาล (INC) ทั้งหมด 5 ครั้ง โดยกําหนดจัดการประชุมครั้งสุดท้ายในเดือนพฤศจิกายน 2567 ที่เมืองปูซาน สาธารณรัฐเกาหลีเพื่อจัดทํามาตราการให้แล้วเสร็จ อย่างไรก็ตามแรงต้านจากกลุ่มประเทศที่พึ่งพาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีทําให้ไม่สามารถบรรลุร่างข้อตกลงสุดท้ายได้ แต่ในขณะเดียวก็ยังมีกันกว่า 100 ประเทศที่ต้องการมาตราการที่เข้มแข็ง ได้ร่วมกันแสดงจุดยืนปฎิเสธการรับสนธิสัญญาที่ไม่มีความเข้มงวดเพียงพอ

ในช่วงปิดการประชุม INC-5 ประธานการประชุมจึงประกาศขยายเวลาการเจรจาเพิ่มเติม โดยถูกเรียกโดยทั่วกันว่า INC 5.2 โดยยังไม่กําหนดสถานที่หรือช่วงเวลาที่แน่นอน งานเสวนา “ไปกันต่อ INC 5.2: ยังไงดีสนธิสัญญาพลาสติกโลก” จึงจัดขึ้นเพื่อสรุปสิ่งที่เกิดขึ้นในการประชุม INC-5 ที่ผ่านมา โดยมีผู้ร่วมเสวนาจากผู้แทนจากกรมควบคุมมลพิษ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนเจรจา INC-5, ผู้แทนจากมูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม, มูลนิธิบูรณนิเวศ และ Greenpeace ประเทศไทย ในฐานะผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์ INC-5 และดำเนินรายการโดยคุณวิภาพร วัฒนวิทย์ บรรณาธิการ Decode.plus เพื่อร่วมแลกเปลี่ยน วิเคราะห์สาเหตุที่การประชุมล้มเหลว ร่างสนธิสัญญาฉบับล่าสุด และแนวโน้มของการประชุม INC 5.2 ที่กําลังจะมาถึง โดยคําถามสําคัญ คือการประชุมครั้งที่ 5.2 จะเป็นครั้งสุดท้ายหรือไม่ เราจะมีสนธิสัญญาพลาสติกโลกไหม และโลกควรจับตามองประเด็นไหนบ้าง

งานเสวนา “ไปกันต่อ INC 5.2: ยังไงดีสนธิสัญญาพลาสติกโลก” จะจัดขึ้นในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 10.00 – 12.00 น. และจะมีการดำเนินรายการเป็นภาษาไทย พร้อมทั้งมีการถ่ายทอดสดทางเพจ SEA Junction, Decode.plus และ เพจของพันธมิตรเครือข่าย

งานของ SEA Junction สามารถเข้าร่วมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หากแต่เราจะยินดีเป็นอย่างยิ่งหากคุณช่วยบริจาคเพื่อเป็นการสมทบทุนสนับสนุนให้เราสามารถทำกิจกรรมอื่นๆ อีกในอนาคต

 

ร่วมจัดโดย

SEA Junction มีเป้าหมายเพื่อกระชับความเข้าใจและความซาบซึ้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในทุกๆ มิติของสังคมวัฒนธรรม นับตั้งแต่ศิลปะ และวิถีชีวิต ไปจนถึงเศรษฐกิจและการพัฒนา ตั้งอยู่ที่ห้อง 408 ของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร หรือ หอศิลป์ฯ กรุงเทพ (อยู่ตรงกันข้ามกับศูนย์การค้ามาบุญครอง ใกล้กับรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีศูนย์กีฬาแห่งชาติ) ซี จังชั่น อำนวยการให้สาธารณะเข้าถึงแหล่งความรู้ และการแลกเปลี่ยนระหว่างนักเรียนรักศึกษา, นักปฏิบัติ และผู้ที่มีความชื่นชอบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดู www.seajunction.org

มูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม (Environmental Justice Foundation: EJF) ทํางานในระดับนานาชาติเพื่อผลักดันนโยบายและขับเคลื่อนการปฏิรูปอย่างเป็นระบบและยั่งยืน เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน ผ่านการตรวจสอบและการสนับสนุนนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มชาติพันธ์ชุมชน และนักข่าวอิสระ โดยเป้าหมายของการรณรงค์คือเพื่อการธํารงไว้ซึ่งอนาคตที่สมบูรณ์เสมอภาค และยั่งยืน

มูลนิธิบูรณะนิเวศ (Ecological Alert and Recovery – Thailand: EARTH) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนไม่แสวงหาผลกําไร ที่มุ่งเน้นงานศึกษาและติดตามปัญหาจากมลพิษอุตสาหกรรมและความปลอดภัยจากสารเคมีโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนความเป็นธรรมทางสิ่งแวดล้อม ส่งสิทธิชุมชน สิทธิการเข้าถึงข้อมูล สิทธิการมีส่วนร่วม สิทธิในการได้รับความเป็นธรรม ความโปร่งใส ธรรมาภิบาล รวมถึงความรับผิดชอบของภาคเอกชนภายใต้หลักการ “ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย”

กรีนพีซ ประเทศไทย (Greenpeace Thailand) เป็นองค์กรอิสระ ทํางานรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมในระดับสากล โดยใช้การเผชิญหน้าอย่างสร้างสรรค์และสันติวิธีเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม ผลักดันนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและขับเคลื่อนขบวนการทางสังคมเพื่อนําเสนอทางออกของปัญหา เพื่ออนาคตที่น่าอยู่ ปลอดภัย เป็นธรรมและส่งเสริมสันติภาพ

Decode.plus