Loading Events

« All Events

  • This event has passed.

นิทรรศการภาพถ่าย “Who Cares? โควิด-19 การตอบสนองการคุ้มครองสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

17 October, 2023 @ 10:00 am - 29 October, 2023 @ 8:00 pm

คำอธิบายนิทรรศการ

งานนิทรรศการภาพถ่าย “Who Cares? โควิด-19 การตอบสนองการคุ้มครองสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” จัดโดย SEA-Junction ในวันที่ 17-29 ตุลาคม พ.ศ. 2566 และจัดแสดงบนผนังโค้ง ชั้น 3 หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานครฯ บันทึกว่าโรคระบาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปิดเผยการกักตุนความมั่งคั่งและความไม่เสมอภาคด้านสวัสดิการที่ฝังรากลึกในสังคม และผลกระทบที่หลากหลายต่อความเป็นอยู่และความปลอดภัยของประชากรกลุ่มต่างๆ รวมถึงการตอบสนองต่อวิกฤตทางสังคมที่แตกต่างกัน

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป จำนวนผู้เสียชีวิตจากการระบาดใหญ่ในตอนแรกนั้นมีจำกัดเมื่อเทียบกับจำนวนผู้เสียชีวิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นคาบสมุทรและตัวเลขทั่วโลก ก่อนที่สถานการณ์ที่ดูเหมือนจะปลอดภัยนี้ จะเริ่มเปลี่ยนแปลงภายในสิ้นปี 2563 เมื่อเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่อุบัติขึ้นและในที่สุดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็กลายเป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาดระดับโลกภายในกลางปี 2564 เนื่องจากการขยายตัวของไวรัสสายพันธุ์เดลต้า ทั่วทั้งภูมิภาคได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ทั้งความเสียหายจากโรคโควิด-19 ในด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนถึงมาตรการป้องกันการระบาดที่ถูกบังคับใช้อย่างเข้มงวด ซึ่งบางครั้งก็มีการบังคับใช้อย่างไม่สอดคล้องกัน มีความหนักหนาสาหัสกระจายไปอย่างกว้างขวางและไม่เท่าเทียมกัน

กล่าวโดยรวมแล้ว เศรษฐกิจในภูมิภาคหดตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ความเปราะบางของแรงงานนอกระบบ ผู้หญิงและกลุ่มคนชายขอบก็ได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก ด้วยการล่าถอยครั้งใหญ่ของวิกฤตนี้ สังคมได้ถูกท้าทายให้ปกป้องผู้เปราะบางที่สุดเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นความท้าทายในการให้เงินอุดหนุนที่ไม่เพียงพอหรือไม่มีอยู่จริง สำหรับแรงงานนอกระบบและแรงงานข้ามชาติ รวมไปถึงคนที่อยู่นอกตลาดแรงงาน ผู้พิการและผู้สูงอายุ  เนื่องจากการสนับสนุนจากรัฐบาลยังห่างไกลจากความเพียงพอหรือยุติธรรม กลุ่มผู้คน ชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรจึงก้าวเข้ามาเพื่อพยายามเติมเต็มช่องว่างเหล่านี้ด้วยการแจกจ่ายอาหารและความช่วยเหลือ ตลอดจนให้บริการด้านสุขภาพ การดูแลครอบครัว และบริการงานศพแก่ผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือเหล่านี้

ช่างภาพจาก 6 ประเทศ อันได้แก่ Edy Susanto จากอินโดนีเซีย, Hasnoor Hussain จากมาเลเซีย, Ta Mwe จากเมียนมา, Kimberly dela Cruz จากฟิลิปปินส์, Grace Baey จากสิงคโปร์, และ สายัณห์ ชื่นอุดมสวัสดิ์ จากประเทศไทย ได้ถ่ายทอดผลกระทบด้านสุขภาพและเศรษฐกิจต่อกลุ่มผู้เปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด รวมถึงการกระจายทรัพยากรความช่วยเหลืออันไม่เท่าเทียม ซึ่งยังคงส่งผลกระทบจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้ภาพถ่ายยังได้แสดงให้เห็นถึงการกักตุนความมั่งคั่งและความไม่เสมอภาคด้านสวัสดิการที่ฝังรากลึกในสังคม การระบาดของโรคโควิด 19 ในครั้งนี้ได้นำมาซึ่งการตีแผ่เปิดเผยและนำไปสู่การเรียกร้องให้มีการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง หากเราต้องการสร้างสังคมที่เที่ยงธรรมมากยิ่งขึ้น

ในระหว่างงานนิทรรศการ งานเสวนาที่เกี่ยวข้องสองงานต่อไปนี้จะถูกจัดขึ้นที่ SEA-Junction

  • 18 ตุลาคม 2566 เวลา 17.30-19.00 น. งานเสวนาช่างภาพซึ่งเหล่านักถ่ายภาพจะกล่าวถึงงานของพวกเขาในระหว่างวิกฤตโรคระบาด
  • 25 ตุลาคม 2566 เวลา 17.30-19.00 น. งานเปิดตัวหนังสือฉบับภาษาไทย ของหนังสือที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเร็วๆ นี้ ภายใต้ชื่อ “Who Cares? โควิด-19 การตอบสนองการคุ้มครองสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” เรียบเรียงโดยโรซาเลีย ชอร์ติโน จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ซิลค์เวอร์มและมีภาพประกอบพร้อมภาพถ่ายนิทรรศการที่คัดเลือกมา การเปิดตัวครั้งนี้จะนำเสนอการอภิปรายโดยเน้นไปที่บทของหนังสือเกี่ยวกับประเทศไทย และถอดบทเรียนที่ได้จากการตอบสนองด้านการคุ้มครองทางสังคมจากโควิด-19 ที่เกี่ยวข้องกับการอภิปรายเชิงนโยบายในปัจจุบัน สวัสดิการผู้สูงอายุ แรงงาน กลุ่มประชากรที่มีความเปราะบางและการช่วยเหลือในรูปแบบของกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์สำหรับประชากรโดยรวม

ภาพถ่ายเชิงสารคดีเหล่านี้ ยกเว้นภาพจากเมียนมา ได้ถูกตีพิมพ์เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเร็วๆ นี้ ชื่อว่า “Who Cares? โควิด-19 การตอบสนองการคุ้มครองสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” เรียบเรียงโดย โรซาเลีย ชอร์ติโน และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ซิลค์เวอร์ม การจัดทำหนังสือ (ทั้งฉบับภาษาอังกฤษและภาษาไทย) ตลอดจนถึงงานเสวนาและนิทรรศการภาพถ่ายนี้ ซึ่งคิวเรทโดยสายัณห์ ชื่นอุดมสวัสดิ์และโรซาเลีย ชอร์ติโน ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยระดับภูมิภาคที่ดำเนินการในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปี 2564-2565 โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้โครงการวิจัยยุทธศาสตร์บูรณาการสังคมศาสตร์: คนไทย 4.0

ประวัติผู้ร่วมงานเสวนาภาพถ่าย

Edy Susanto เป็นช่างภาพสารคดีผู้เกิดในกรุงจาการ์ตา เขาสำเร็จหลักสูตรการอบรมพิเศษการถ่ายภาพวารสารศาสตร์ที่แกลเลอรี่ช่างภาพวารสารอันทารา (Antara) เมื่อปี พ.ศ. 2543 และได้เข้าร่วมหลักสูตรการอบรมและเวิร์คช็อปด้านการถ่ายภาพจำนวนมากมาย หนึ่งในงานที่เขาได้รับเลือกให้เข้าร่วมยังรวมถึงเวิร์คช็อปการถ่ายภาพซึ่งนำโดย Peter Bialobrezky ช่างภาพชาวเยอรมันผู้ชนะการประกวดรางวัลภาพถ่ายผู้สื่อข่าวโลก (World Press Photo) ดูข้อมูลเพิ่มเติม:  https://www.edy-susanto.com/.

Grace  Baey เป็นช่างภาพและผู้สร้างภาพยนต์ในสิงคโปร์ ด้วยการผ่านการฝึกฝนเป็นนักภูมิศาสตร์มนุษย์ เธอมีสายตาที่เฉียบแหลมและมีความอ่อนไหวในการสร้างสรรค์เรื่องราวที่น่าสนใจของผู้คน ซึ่งมีความน่าเชื่อถือ สะเทือนอารมณ์ และน่าคิด เธอสนใจในประเด็นการย้ายถิ่นและการเคลื่อนย้าย เพศ อัตลักษณ์ และสถานที่เป็นพิเศษ งานส่วนตัวของเธอมุ่งเน้นไปที่อัตลักษณ์ทางเพศและผู้มีความหลากหลายทางเพศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เธอเป็นสมาชิกของ @womenphotograph @diversifyphoto @authoritycollective @equallens. ดูข้อมูลเพิ่มเติม: www.gracebaey.com

Hasnoor Hussain เริ่มจับกล้องถ่ายรูปตั้งแต่ช่วงอายุ 20 ต้นๆ และได้เริ่มเป็นช่างภาพนับตั้งแต่นั้นมา ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 เขาเป็นหนึ่งในพนักงานคนแรกๆ ผู้ริเริ่ม เดอะ มาเลเซีย อินไซท์ (The Malaysia Insight)  และยังคงรายงานข่าวที่นั่นในรูปแบบสื่อภาพ ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเขาเป็นช่างภาพอยู่ที่สำนักข่าวรอยเตอร์ส มาเลเซีย ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.hasnoorhussain.com/

Kimberly dela Cruz เป็นช่างภาพอิสระในกรุงมะนิลา สมัยเรียนคณะวารสารศาสตร์ เธอกลายเป็นนักเคลื่อนไหวและเริ่มพกพากล้องไปในการชุมนุมต่างๆ เธอเริ่มต้นชีวิตการทำงานในฐานะช่างภาพสื่อมวลชนให้กับ ฟิลิปปินส์ เดลี่ อินไควเรอร์ (Philippine Daily Inquirer) เมื่อปี พ.ศ. 2556 ก่อนที่จะย้ายไปถ่ายภาพสารคดีและทำงานให้กับสำนักพิมพ์อื่น ๆ ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.kimberlydelacruz.com/

สายัณห์ ชื่นอุดมสวัสดิ์ ทำงานเป็นช่างภาพผู้สื่อข่าวมาแล้วหลายปี เขารายงานและถ่ายภาพปัญหาความท้าทายที่เพิ่มขึ้นต่าง ๆ ของการพัฒนา สิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง ด้วยความหลากหลายและหวือหวา รูปภาพของเขาถ่ายทอดการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนที่อาศัยอยู่ร่วมกับความท้าทายด้านการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ และความเปลี่ยนแปลงทางสังคมต่างๆ ในภูมิภาค ดูข้อมูลเพิ่มเติม https://sayanchuenudomsavad.wordpress.com/

Ta Mwe เป็นช่างภาพสารคดีชาวเมียนมาผู้เคยมีประสบการณ์ในการรายงานเรื่องราวทางการเมืองและสังคมและเหตุการณ์หลากหลายรูปแบบทั่วทั้งประเทศพม่า หลังจากทำงานให้กับสำนักพิมพ์และองค์กรระดับชาติและนานาชาติมาหลายปีในฐานะช่างภาพ ช่างถ่ายวิดีโอและนักตัดต่อวิดีโอ ผลงานล่าสุดของ Ta Mwe มุ่งเน้นไปที่ภาพถ่ายอนาล็อกแบบภาพนิ่ง ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่วิกฤตโควิด 19 ไปจนถึงการประท้วงต่อต้านรัฐประหารของเมียนมา เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองในเมียนมา ชื่อ Ta Mwe จึงเป็นนามแฝง และประวัติของเขาก็ได้รับการแก้ไขอย่างหนักเพื่อลบข้อมูลที่สามารถระบุไปถึงตัวตนใดๆ ของเขาได้

 

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ info@seajunction.org หรือ +66970024140

จัดโดย

SEA Junction ภายใต้การดำเนินการของมูลนิธิเพื่อการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มุ่งสร้างความเข้าใจและความซาบซึ้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในทุก ๆ ด้านของมิติสังคมวัฒนธรรม ตั้งแต่ศิลปะและวิถีชีวิต ไปจนถึงเศรษฐกิจและการพัฒนา ตั้งอยู่ที่ห้อง 408 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร SEA Junction ได้ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งความรู้และการแลกเปลี่ยนของบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สนใจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาดูที่หน้าเว็บไซต์ www.seajunction.org เข้าร่วมกลุ่ม Facebook: http://www.facebook.com/groups/1693058870976440/ และติดตามเราทาง Twitter หรือ Instagram ที่ @seajunction

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล มีภารกิจหลักในการทำงานวิจัยด้านประชากรและสังคมที่มีผลกระทบสูงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมทั้งนำความรู้และประสบการณ์ตามความถนัดของสถาบันฯ ขยายผลออกไปเพื่อสร้างสังคม ทั้งด้วยการจัดฝึกอบรมระยะสั้น การเผยแพร่ความรู้ข่าวสารด้านประชากรและสังคมในรูปแบบต่างๆ และการเป็นที่ปรึกษาแก่หน่วยงานอื่นๆ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาดูที่หน้าเว็บไซต์ https://ipsr.mahidol.ac.th/

Details

Start:
17 October, 2023 @ 10:00 am
End:
29 October, 2023 @ 8:00 pm
Event Category: