[Open Call] ถ่ายรูปและเล่าเรื่องราวของคุณ: มุมมองของแรงงานข้ามชาติต่ออุตสาหกรรมการประมงและอาหารทะเลของไทย
โครงการภาพถ่ายที่เล่าเรื่องราวนี้เจาะจงไปที่กลุ่มแรงงานผู้อพยพจากกัมพูชา เมียนมา และประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมการประมงและการแปรรูปอาหารในประเทศไทย ผู้สังเกตการณ์และผู้เชี่ยวชาญต่างมักจะรายงานถึงความท้าทายสำคัญที่เหล่าแรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมนี้ต้องเผชิญ อันเนื่องมาจากสภาวะการทำงานที่ถูกเอาเปรียบและการเลือกปฏิบัติทางสังคมที่มีอยู่อย่างแพร่หลาย ทว่าเรากลับแทบจะได้ยินเสียงของพวกเขาเลย รวมถึงเรื่องราวถึงประสบการณ์ระหว่างการเป็นแรงงานข้ามชาติว่าเป็นอย่างไร และพวกเขาจัดการกับความท้าทายเหล่านั้นอย่างไรบ้าง
โครงการนี้ ซึ่งจัดขึ้นโดย SEA Junction และได้รับการสนับสนุนโดยโครงการ Ship to Shore Rights Southeast Asia ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization ILO) โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป มีเป้าประสงค์เพื่อสร้างเวทีให้กับแรงงานข้ามชาติในการแบ่งปันเรื่องราว และเปิดเผยมุมมองของพวกเขา ทั้งในการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อสร้างการมองเห็นและก่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์ของพวกเขา เราเชื่อว่าการแลกเปลี่ยนแบ่งปันดังกล่าวจะส่งเสริมความตระหนักรู้ในหมู่สาธารณะชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เกี่ยวกับประเด็นเฉพาะทางต่าง ๆ ที่แรงงานข้ามชาติต้องเผชิญ ตามแบบที่พวกเขามองมัน และมีส่วนช่วยในการพัฒนานโยบายและการแทรกแซงที่มีประสิทธิภาพจากระดับฐานรากขึ้นสู่ระดับบน เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของพวกเขาได้ดียิ่งขึ้น หากปราศจากความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับประสบการณ์และความปรารถนาของผู้ย้ายถิ่น การสร้างสังคมที่เสมอภาคและเท่าเทียม ซึ่งส่งเสริมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนทุกกลุ่ม ก็จะยังคงเป็นเรื่องท้าทายต่อไป
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ (see further https://www.ohchr.org/en/migration/reframing-narratives-migration)
ถึงผู้อพยพย้ายถิ่นทุก ๆท่าน ทั้งหลากเพศ ชาติพันธุ์ และสัญชาติ ที่มีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมประมงและแปรรูปอาหารทะเลของประเทศไทย เราขอเชิญให้คุณส่งรูปถ่ายของคุณที่ถ่ายด้วยมือถือหรือวิธีการอื่นมาให้เรา พร้อมด้วยเรื่องราวที่แสดงถึงงานของคุณ ชีวิตประจำวัน ความท้าทาย แรงบันดาลใจ ปฏิสัมพันธ์ของชุมชนกับผู้คนในประเทศไทย และการเชื่อมต่ออย่างต่อเนื่องกับประเทศต้นทางของคุณตลอดการย้ายถิ่นฐาน (ก่อน ระหว่าง และหลังการอพยพ) เราหวังว่าคุณจะสามารถเก็บภาพบรรยากาศทั้งก่อน ระหว่าง และหลังเลิกงาน ควบคู่ไปกับภาพมุมมองชีวิตของคุณนอกเหนือจากการทำงานแนบมาพร้อมภาพถ่ายและข้อความส่วนตัว คุณสามารถเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ไทย หรือภาษาของคุณเองเกี่ยวกับความหมายของภาพถ่ายเหล่านี้ว่ามันมีความหมายกับคุณอย่างไร ทำไมคุณถึงถ่ายมัน และคุณต้องการที่จะสื่อสารอะไรออกมา โดย ภาพถ่ายแต่ละภาพควรประกอบด้วยข้อความแนะนำสั้นๆ กับชุดภาพถ่ายราว 10 รูปพร้อมกับคำอธิบายขนาดย่อ เมื่อพร้อมแล้ว กรุณาส่งมาที่อีเมลของเราทาง info@seajunction.org หรือผ่านทางแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียของเราในทุกช่องทาง (Facebook, Instagram, LinkedIn, Twitter) ท่านสามารถติดต่อเรามาได้ทุกเมื่อหากมีคำถามหรือข้อสงสัยใด ๆ
พวกเราจะรวบรวมภาพถ่ายที่ถูกส่งมาทั้งหมดจนถึงวันที่ 15 มกราคม 2567 และเผยแพร่มันตามความเหมาะสม (พร้อมด้วยชื่อจริง นามแฝง หรือไม่ระบุตัวตน แล้วแต่ผู้ส่งจะกำหนด) บนเว็บไซต์ของเรา ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจะถูกจัดแสดงในนิทรรศการ และได้รับของที่ระลึกแสดงความขอบคุณ ทั้งนี้ทางเราจะมีการมอบใบรับรองการเข้าร่วมให้กับผู้เข้าร่วมทุกคนด้วย
เรารอคอยที่จะได้รับภาพถ่ายบอกเล่าเรื่องราวของคุณ!
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ info@seajunction.org หรือ +66970024140
จัดโดย
SEA Junction ภายใต้การดำเนินการของมูลนิธิเพื่อการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มุ่งสร้างความเข้าใจและความซาบซึ้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในทุก ๆ ด้านของมิติสังคมวัฒนธรรม ตั้งแต่ศิลปะและวิถีชีวิต ไปจนถึงเศรษฐกิจและการพัฒนา ตั้งอยู่ที่ห้อง 408 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร SEA Junction ได้ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งความรู้และการแลกเปลี่ยนของบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สนใจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาดูที่หน้าเว็บไซต์ www.seajunction.org เข้าร่วมกลุ่ม Facebook: http://www.facebook.com/groups/1693058870976440/ และติดตามเราทาง Twitter หรือ Instagram ที่ @seajunction
ร่วมมือกับ
Ship to Shore Rights South East Asia เป็นโครงการริเริ่มระดับนานาชาติของสหภาพยุโรป (EU) และองค์การสหประชาชาติ (UN) จัดโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) และโครงการพัฒนาขององค์การสหประชาชาติ (UNDP) โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมการย้ายถิ่นของแรงงานที่สม่ำเสมอและปลอดภัย รวมถึงสภาพการทำงานที่ปกติตามมาตรฐานให้แก่แรงงานข้ามชาติทุก ๆ คนในภาคส่วนการประมงและอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://shiptoshorerights.org/
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เป็นหน่วยงานของสหประชาชาติที่มีหน้าที่พัฒนาความยุติธรรมทางสังคมและเศรษฐกิจผ่านการกำหนดมาตรฐานของแรงงานระหว่างประเทศ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง https://www.ilo.org/